เครื่องมือและชุดความรู้

องค์กรแห่งความสุข 4.0

Posted On - 15/03/2562 By - Admin



การสัมนา Forum “องค์กรแห่งความสุข 4.0” จัดจึ้นเมื่อวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2560 เวลา 9.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุม 201 ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 120 คน จากหลายภาคส่วนทั้งองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจเอกชน และภาคอุตหกรรมบริการ การสัมนาครั้งนี้ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ ดร.จำเนียร จวงตระกูล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมนา Forum “องค์กรแห่งความสุข 4.0” ซึ่งท่านได้อธิบายนโยบายประเทศไทย 4.0 ว่า ส่วนใหญ่แล้วประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0 ไม่ครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. ที่กล่าวว่า นโยบายประเทศไทย 4.0 ไม่ใช้แนวคิด industry 4.0 ของประเทศเยอรมัน

โดยจากประสบการณ์ทำงาน HR ของ ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ ดร.จำเนียร จวงตระกูล พบว่า หากต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจะต้องมี 3 องค์ประกอบดังนี้คือ 1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง 2) การเปลี่ยนแปลงกระบวนการ และ 3) การเปลี่ยนแปลงคน นโยบายประเทศไทย 4.0 จึงควรมุ่งที่การเปลี่ยนแปลงคนเป็นสำคัญ โดยต้องทำให้ประชาชนทราบว่า อยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเตรียมความพร้อมในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น ตัวอย่างคือการเตรียมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งมีวิธีการในการขับเคลื่อนหลัก 2 ประเด็น คือ 1) ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการด้วยกัน โดยให้องค์กรรัฐเป็นต้นแบบ เช่น การขยายอายุเกษียณงาน และ 2) สร้างกระบวนการเปลี่ยนค่านิยมของประชาชนให้สอดรับกับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต

การเสวนาในช่วงเช้าหัวข้อ “ทำไมต้องประเทศไทย 4.0 และจะส่งผลต่อองค์กร/พนักงานอย่างไร?” โดย รศ.ดร.สมบัติ  กุสุมาวลี ซึ่งอธิบายว่า ประเทศไทย 4.0 เป็นนโยบายเชิงวิสัยทัศน์ ซึ่งในอดีตแทบจะไม่มีนโยบายเชิงวิสัยทัศน์เกิดขึ้นในประเทศไทย เหตุที่ “ทำไมต้องเป็นประเทศไทย 4.0 นั้นมาจากเหตุผลที่ว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ Paradigm shift การเปลี่ยนวิถีชีวิต วิถีการทำงานของประชาชน เป็นยุค Implement digital technology ซึ่งการแข่งขันในอนาคตจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วมากกว่าความแข็งแกร่ง

ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในยุคประเทศไทย 3.0 ซึ่งเป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก หรือเรียกว่า ยุคเศรษฐกิจแบบดั่งเดิม การจะก้าวเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจนวัตกรรม ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (Value – added Economy Creativity / Innovation Eastern Economic Corridor R&D / Knowledge – based / High Skill Do less with more) จึงต้องมองภาพในอนาคตในชัดเจนก่อน โดยนักอนาคตวิทยาคาดการณ์ว่า อีก 10 ปีข้างหน้า คนจะต้องเตรียมรับกับสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นรวดเร็ว โดยมีแนวโน้ม 10 ประการที่จะเปลี่ยนโลกธุรกิจคือ


  • Innovation is the chief competitive advantage
  • Socially responsible business practices
  • Predictive Knowledge – Value Business models
  • Disrupt and reinvent your business model, products, work processes, talent, strategy, and values – before creating competition

The mobile web marketplace will connect over 7 billion people by 2025

  • Automated bots, computer algorithms, and Smart Machines will transform every business
  • The Global Innovation Ecosystem will create collaborative and connected networks of markets, companies, entrepreneurs, and commerce
  • Predictive analytics, the cloud, Big Data, social media, and mobile are top trends that will transform business
  • A new kind of customer, the Click – Streamer, points to a new digital global culture
  • The Start – up Culture will change every business, making every enterprise more entrepreneurial

สำหรับการขับเคลื่อนองค์กรต่างๆ ในอนาคต ให้สอดคล้องกับ นโยบายประเทศไทย 4.0 จะต้องเป็นองค์กรที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงมีนวัตกรรม เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

ความสุขคนทำงานรากฐาน ‘องค์กรสร้างสุข’

หนึ่งในองค์ประกอบของแรงขับเคลื่อนคือ คนทำงานมีความสุข ภาคีเครือข่ายและสสส.

View more

สุดยอดต้นแบบ SUPER IDOL โครงการสุข 8

กรมประชาสัมพันธ์จัดกิจกรรม “สุดยอดต้นแบบ SUPER IDOL โครงการสุข 8 ประการด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

View more

การประชุมร่วมกับสำนักงานเล​ขาธิการสภา​การศึกษา

สร้างเสริมคุณภาพการทำงานภาครัฐ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2555

View more

เครื่องมือและชุดความรู้อื่น ๆ

สรุปประเด็นจากการถอดบทเรียน

ถอดบทเรียนต้นแบบองค์กรสุขภาวะของภาครัฐ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2557

View more

สรุปประเด็นจากเวทีแลกเปลี่ยนแบบกัลยาณมิตร

“อนาคตและข้อเสนอเชิงนโยบายคุณภาพชีวิตบุคลากรภาครัฐ” เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2557

View more

คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน (ภาษาอังกฤษ, กัมพูชา, พม่า, ลาว)

View more

จุฬาฯ รู้สู้โควิด

View more