สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต หรือ สสส. ร่วมมือกับสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำ “ แผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ ” เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการเสริมสร้างสมดุลแห่งความสุขระหว่างชีวิตและการทำงาน ให้กับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้รับความร่วมมือจาก 18 องค์กรนำร่อง ได้แก่ กรมชลประทาน,สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ,กรมสุขภาพจิต,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม,สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา,กรมราชทัณฑ์,ราชบัณฑิตยสถาน,สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,กรมประมง,ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน,กรมประชาสัมพันธ์,สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ,สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา,กรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และสนับสนุนบริการสุขภาพ
นายสุจิตต์ ไตรพิทักษ์ กรรมการบริหาร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ได้เป็นประธานการประชุม พร้อมนำเสนอผลงานการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ “ถนนแห่งความสุข Happy Hightway”
โดยมี ดร. ศิริเชษฐ์ สังขะมาน ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐทำหน้าที่กล่าวรายงานพร้อมนำคณะผู้บริหารเยี่ยมชมนิทรรศการและให้คะแนน”องค์กรต้นแบบก้าวหน้า”ณ ห้องประชุมน้ำทิพย์ กรมชลประทาน
แผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการไทยและองค์กรรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของหนี้สิน ความเคร่งเครียดในงานและชีวิตส่วนตัว ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ รวมไปถึงการไม่พึงพอใจในระบบงานและสภาพแวดล้อมการทำงาน ฯลฯ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
ทำงานของระดับบุคคลในภาพรวม และต่อเนื่องไปยังระดับโครงสร้างในการพัฒนาประเทและเป็นไปตามการคาดการณ์ของ ดร.ศิริเชษฐ์ สังขะมาน ตัวแทนจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯหัวเรือใหญ่ในเรื่องนี้ ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะเริ่มเห็นผลของการดำเนินงานในช่วงครึ่งปี ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ จากระยะเวลา 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่งที่ได้กำหนดแผนไว้ ขณะที่การเดินสายถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องแฮปปี้ เวิร์กเพลส (Happy Workplace) ให้องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ จนเกิดเป็นการร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาองค์กรสุขภาวะภาครัฐ ใน 17 หน่วยงานหลักของปีที่แล้ว ยังได้เพิ่มมาเป็น 22 องค์กรสุขภาวะภาครัฐต้นแบบในปีนี้
โดยผลสำเร็จหนึ่งตัวอย่าง ที่เห็นชัดว่าแผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐเดินมาถูกทางแล้ว คือโครงการ “Happy Station” เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน ของ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ใน 22 องค์กร ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้
“ การสร้างสุขให้พนักงานต้องทำด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย การออกแบบองค์กรแห่งความสุขจึงเป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ ชื่นชมผลงานกันและกัน ไม่ใช่เพื่อความสนุกเฮฮาเพียงอย่างเดียว และจุดเด่นของเราคือการนำ 4 งานวิจัยมาสร้างความสุขบุคลากร”
ส่วน นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. ผู้ริเริ่มองค์ความรู้ด้าน Happy Workplace ในประเทศไทย กล่าวว่า สสส.ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ พร้อมใจร่วมผลักดันยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสมดุลของชีวิต และการทำงานของบุคลากรภาครัฐ(Quality of Work Life) โดยกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรม เช่น จัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมจากสวัสดิการภาคบังคับตามกฎหมายนอกจากนี้ยังร่วมกับภาคีเครือข่ายเพิ่มขีดความสามารถและบทบาทขององค์กรทั้งภาครัฐและ รัฐวิสาหกิจ รวมถึงเอกชน ในการพัฒนาสุขภาวะองค์กร ซึ่งตั้งเป้าให้ได้ 4,000 หน่วยงาน และมีแกนนำได้รับการพัฒนาขีดความสามารถสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 5,000 คน ภายในปี 2557 นี้