ข่าวสารกิจกรรม

HAPPY WORKPLACE WORKING GROUP MEETING 2015

Posted On 15/03/2562 By Admin

 เมื่อวันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานประชุมสัมมนาวิชาการ Happy Workplace Working Group Meeting  2015  ในหัวข้อ “สุขภาพของพนักงานคือพื้นฐานขององค์กรแห่งความสุข”ณ ห้องประชุม 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายในงานประชุม Happy Workplace Working Group Meeting ครั้งนี้ ประกอบด้วย เวทีเสวนาในประเด็นเรื่องสุขภาพในองค์กร และนิทรรศการออกบูธขององค์กรที่รณรงค์และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ เช่น โครงการคนไทยไร้พุง โครงการลดพุงลดโรค เป็นต้น ผู้เข้าร่วมงานประกิบด้วยภาคีเครือข่าย สสส. รวมทั้งภาคีเครือข่ายของแผนงานฯ ประกอบด้วย ตัวแทนจากราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาชน กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย กรมประชาสัมพันธ์ กรมสุขภาพจิต สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NECTEC) 



นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์  ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร กล่าวรายงาน โดยได้กล่าวถึงปัญหาสุขภาพของคนทำงานในปัจจุบัน ที่กำลังประสบโรค NCDs (Non-communicable diseases) ซึ่งมีที่มาจาก 4 ประเด็นหลักที่สำคัญ ได้แก่ อาหาร การออกกำลังกาย เหล้า และบุหรี่ ซึ่งเป็นเสมือนโรคที่มีที่มาจากการใช้ชีวิต จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลให้มีการขับเคลื่อน Happy Workplace มากยิ่งขึ้น

          จากนั้น ศาสตรจารย์นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ขึ้นกล่าวเปิดงาน โดยเริ่มกล่าวถึงการทำงานของ สสส.ที่ทำงานผ่านเครือข่ายไปยังทั่วประเทศตามอุดมการณ์ของ สสส. ทั้งทำงานในเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ สำหรับการทำงานในเชิงประเด็น ยกตัวอย่างเช่น การรณรงค์เรื่องเหล้า บุหรี่ อุบัติเหตุ ส่วนการทำงานในเชิงพื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การทำงานกับชุมชน และการทำงานกับองค์กรต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งในภาคเอกชนนี้ปัจจุบันมีจำนวนองค์กรกว่า 4 แสนองค์กร โดยมีแรงงานหรือคนทำงานที่ขึ้นทะเบียนกว่า 10 ล้านคน และเมื่อบวกกับจำนวนสมาชิกในครอบครัวของคนทำงานโดยเฉลี่ยครอบครัวละ 4 คนแล้ว จะเกี่ยวโยงถึงจำนวนคนกว่า 40 ล้านคน แต่การทำงานกลับมุ่งเน้นแต่เรื่องงานมากกว่าการเข้าถึงคุณภาพชีวิต ในระยะหลังจึงเริ่มมีการมองว่าแรงงานหรือคนทำงานเหล่านี้เป็นทรัพย์สินที่มีค่า เมื่อมีการปรับทัศนคติใหม่แล้ว การที่องค์กรเริ่มหันมาดูแลคนในองค์กรมากขึ้น ก็เท่ากับว่าได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

          รองศาสตราจารย์จุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 5  ได้กล่าวถึงประเด็นสุขภาพในองค์กร โดยกล่าวถึงปัญหาสุขภาพของคนทำงานในลำดับต้นๆ คือ การเจ็บป่วยชนิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งสาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ที่ใส่นมข้นและน้ำตาลในปริมาณมาก รวมทั้งอาหารจานด่วนจำพวก Fast Food ที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งคนทำงานบางรายที่นั่งอยูหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ก็ยิ่งส่งผลเสียต่อร่างกายมากขึ้น ปัจจุบันองค์กรเอกชนบางแห่งได้เริ่มนำประเด็นสุขภาพไปปฏิบัติในหน่วยงานแล้ว “ยิ่งทำงานมากสุขภาพก็ยิ่งต้องดีก่อน”




          จากนั้นนายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์  ประธานคณะกรรมการบริหารบริหารแผนคณะที่ 4 ได้กล่าวถึงคำว่า “สุขภาะวะ” สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว หมายรวมถึง “องค์กร”  เนื่องจากสัดส่วนคนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ อยูในองค์กร นอกจากนี้นายแพทย์ยงยุทธยังได้เล่าถึงความสุขและการพัฒนาจิตในรูปแบบพิระมิด โดยมี Happy Body และ Happy Money “สุขสบาย” เป็นฐานล่าง ถัดขึ้นมาเป็น Happy Relax  “สุขสวัสดิ์” ถัดขึ้นมาอีกเป็น Happy Heart และ Happy Family “สุขสโมสร”  ถัดขึ้นมาอีกรองจากยอดคือ Happy Brain และ Happy Society “สุขสง่า” และสุดท้ายยอดพิระมิดสูงสุดคือ Happy Soul “สุขสงบ/สว่าง” ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของ “ความสุข”


          ลำดับต่อมาเข้าสู่ช่วงเสวนาในประเด็นเรื่อง “การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของคนในองค์กร”  โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาเรื่องการรณรงค์เรื่องอาหาและการออกกำลังกายขององค์กรต้นแบบ จากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (องค์กรไร้พุง) และบริษัท SCG (องค์กรซ่อนอ้วน) ดำเนินรายการโดย อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและโภชนาการ อาจารย์สง่าเริ่มต้นเล่าถึงประเทศญี่ปุ่นที่ประสบกกับความบอบช้ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และจากนั้นก็เริ่มกลับมาเน้นประเด็นเรื่องสุขภาพของประชาชนมากขึ้น หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ผ่านพ้นสงครามจนเป็นประเทศอุตสาหกรรม สร้างองค์กรขนาดใหญ่ หลายแห่ง เช่น โตโยต้า (Toyota) และฮอนด้า (Honda) ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ต้องคำนึงว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้คนรักองค์กร ซึ่งงานวิจัยก็ปรากฎออกมาแล้วว่า ความสำคัญขององค์กร คือจะทำอย่างไรให้คนรู้สึกว่าเข้าไปทำงานแล้วมีความสุข ส่วนสำคัญคือผู้นำองค์กรควรมองลูกน้องเป็นคนในครอบครัวมากกว่าที่จะมองเป็นผู้รับใช้



          สำหรับ SCG นำ Mission “3 อ.” มาใช้ ประกอบด้วย อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ โดยสนับสนุนให้มีการออกกำลังกายในที่ทำงาน และรณรงค์เรื่องอาหาร ซึ่งองค์กรมีการดำเนินการสร้างสถานที่ออกกำลังกายในที่ทำงาน ซึ่งเมื่อสร้างแล้วก็ต้องรณรงค์ให้คนมาใช้กัน ซึ่งผู้บริหารก็สนับสนุนในโครงการเหล่านี้ด้วย ส่วนทางโตโยต้า (Toyota) เริ่มต้นโครงการโดยให้มีการออกกำลังกายก่อนเริ่มงานทุกเช้าเช่นเดียวกับบริษัทแม่ในญี่ปุ่น และมีการกำหนดเป็นแผนในองค์กรเลยว่า ในทุกเดือนจะต้องมีกิจกรรมใหม่เกิดขึ้น นอกจากนี้มีการสร้างและปรับพื้นที่ในองค์กรให้เกิดความสะดวกสบายขึ้น เช่น สร้างฟิตเนสให้อยู่ติดกับโรงอาหาร อีกทั้งคนในองค์กรก็สามารถมีส่วนร่วมได้ว่าจะออกแบบพื้นที่เป็นแบบไหน ความสำเร็จของโตโยต้าที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากผู้บริหารสนับสนุนให้ดำเนินการ เมื่อลูกน้องขอมาผู้บริหารก็จัดให้ หากเห็นว่าเกิดประโยชน์ และทางโตโยต้าเองมีการทำโครงการ CSR อยู่แล้ว และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ก็สามารถกระจายนโยบายไปยังดีลเลอร์ทั่วประเทศ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็สร้างความสุขและความพึงพอใจให้คนในองค์กร


          จากนั้นในช่วงบ่ายเป็นการเสวนาแนะนำเครือข่ายการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านอาหาร ออกกำลังกาย เหล้า บุหรี โดยอาจารย์ณรงค์ เทียมเมฆ   ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกิจกรรมทางกาย ดร.ศันสนีย์  กีรติวิริยภรณ์  สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดำเนินรายการโดย  นายธีระ วัชระปราณี  สำนักงานเครือข่ายงดเหล้า



ข่าวสารอื่นๆ

HAPPY WORKPLACE ศาลปกครอง

การสัมมนาพิเศษ “โครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) ของบุคลากรศาลปกครอง”

View more

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่องการสร้างองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

View more

ร่วมประชุม “แนวทางการสร้างสุขให้กับบุคลากร” กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ผู้จัดการแผนงานฯ และผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. เข้าร่วมประชุมชี้แจงเรื่อง “แนวทางการสร้างสุขให้กับบุคลากร กสอ. ตามแทนวทาง Happy Workplace”

View more

การสัมมนาการสร้างองค์กรสุขภาวะ

การสัมมนาการสร้างองค์กรสุขภาวะ องค์กรแห่งความสุข ของกรมทรัพยากรธรณี

View more